เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
1. สมาธิวรรค 6. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล
จักรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักรู้แจ้งอริยสัจ 4
ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล
ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ
4 ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักรู้แจ้ง ฯลฯ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 2

[1076] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดได้ประกาศอริยสัจ 4 ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักประกาศอริยสัจ 4
ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ 4 ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้ง
แล้วตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :586 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
1. สมาธิวรรค 7. วิตักกสูตร

อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจัก
ประกาศ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมประกาศ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ 4 ประการนี้ว่า
เป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อประกาศสิ่งที่
ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 6 จบ

7. วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกถึงอริยสัจ

[1077] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าตรึกถึงถึงบาปอกุศลวิตก คือ
1. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
2. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
3. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะวิตกเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะตรึก พึงตรึกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความตรึกเหล่านี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :587 }